ตราสารหนี้

ตราสารหนี้เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ให้รายได้สม่ำเสมอแก่ผู้ให้กู้ โดยผู้ออกตราสารหนี้ถือเป็นผู้กู้หรือลูกหนี้ และนักลงทุนหรือผู้ถือตราสารหนี้เป็นผู้ให้กู้หรือเจ้าหนี้โดยทั้งสองฝ่ายมีข้อผูกพันทางกฎหมาย หรือสามารถกล่าวได้ว่าการออกตราสารหนี้เป็นการระดมเงินของผู้ออกตราสารผ่านการกู้ยืมระหว่างผู้กู้กับผู้ให้กู้หรือนักลงทุน ตราสารหนี้โดยปกติจะออกโดยรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย และบริษัทเอกชนในการแสวงหาเงินทุนในการทำโครงการหรือเพื่อการดำเนินงาน ผู้ออกตราสารหนี้มีพันธะในการจ่ายดอกเบี้ยคงที่หรือดอกเบี้ยลอยตัว และตกลงที่จะจ่ายเงินต้นเมื่อครบกำหนดอายุตราสาร ตราสารหนี้ในประเทศไทยส่วนใหญ่มักจะขายให้นักลงทุนรายใหญ่หรือนักลงทุนรายใหญ่พิเศษ ซึ่งนักลงทุนรายย่อยมักจะลงทุนตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวมแทน โดยปกติตราสารหนี้มองว่าเป็นกลุ่มตราสารที่มีความเสี่ยงที่ต่ำกว่าตราสารทุนซึ่งสามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดสรรเงินลงทุนเพื่อลดความผันผวนของพอร์ตลงทุนได้


ความรู้เบื้องต้นตราสารหนี้
1.ความรู้เบื้องต้นตราสารหนี้
2.รู้จักตราสารหนี้
เหตุผลดีๆ ที่เราควรใช้บริการที่ CGSI

1. ตราสารหนี้หลากหลายให้เลือกสรร

ตราสารหนี้เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์สำหรับการลงทุนของบริษัท ท่ามกลางผลิตภัณฑ์เพื่อการลงทุนอื่นที่หลากหลาย อาทิเช่น หุ้นในประเทศ และหุ้นต่างประเทศ ตราสารอนุพันธ์ หน่วยลงทุน เป็นต้น ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ในส่วนของตราสารหนี้ลูกค้าสามารถเลือกลงทุนในตราสารหนี้ที่เหมาะสมซึ่งได้รับการคัดสรรจากหลากหลายผู้จัดจำหน่ายในที่เดียว

2. ผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำแนะนำ

บริษัทฯมีผู้เชี่ยวชาญและมากประสบการณ์ที่สามารถให้คำแนะนำด้านการลงทุนกับลูกค้าได้เป็นอย่างดี


วิธีส่งคำสั่ง ซื้อขาย

ปัจจุบันนี้ ตราสารหนี้ซื้อขายกันโดยตรงระหว่างลูกค้าและบริษัทฯ โดยไม่ได้ผ่านตลาดหลักทรัพย์กลาง ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะตกลงกันทั้งในราคาและปริมาณ ทางบริษัทฯมีแผนงานการสร้างระบบในการซื้อขายตราสารหนี้ผ่านเว็ปไซด์ในอนาคตอันใกล้นี้


FAQs

1. ผลตอบแทนจากการลงทุนตราสารหนี้มาจากไหน?

1. ดอกเบี้ยที่ได้ตามอัตราดอกเบี้ยที่ระบุบนตราสารหนี้

2. กำไรขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงของราคาตราสารหนี้ ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างเช่น อัตราดอกเบี้ยของตลาด อัตราเงินเฟ้อ ปริมาณตราสารหนี้ในตลาดเป็นต้น


2. ตราสารหนี้มีการซื้อขายกันอย่างไร?

ตราสารหนี้มีการซื้อขายผ่านตลาด OTC ซึ่งลูกค้าและคู่สัญญาตกลงที่จะซื้อขายในราคาที่ตกลงกัน โดยบริษัทในฐานะผู้ค้าตราสารหนี้ จะทำหน้าที่ในการนำเสนอตราสารหนี้ให้แก่ลูกค้าผ่านผู้แนะนำการลงทุน

ลูกค้าที่มีความประสงค์จะซื้อหรือขายตราสารหนี้จะแจ้งรายการผ่านผู้แนะนำการลงทุนโดยมีผู้ค้าตราสารหนี้ทำหน้าที่ซื้อหรือขายตราสารหนี้ให้แก่ลูกค้า


3. คุณสมบัตินักลงทุนรายใหญ่และนักลงทุนรายใหญ่พิเศษเป็นอย่างไร?

  นิติบุคคล
  นักลงทุนรายใหญ่ (HNW) นักลงทุนรายใหญ่พิเศษ (UHNW)
1. ส่วนของผู้ถือหุ้น >= 75 ล้านบาท >= 150 ล้านบาท
2. เงินลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์ >= 15 ล้านบาท >= 30 ล้านบาท
  (>= 30 ล้านบาทรวมเงินฝาก) (>= 60 ล้านบาทรวมเงินฝาก)
  บุคคลธรรมดา
  นักลงทุนรายใหญ่ (HNW) นักลงทุนรายใหญ่พิเศษ (UHNW)
1. ทรัพย์สินสุทธิไม่รวมอสังหาริมทรัพย์ >= 30 ล้านบาท >= 60 ล้านบาท
2. เงินลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์ >= 8 ล้านบาท >= 15 ล้านบาท
  (>= 15 ล้านบาทรวมเงินฝาก) (>= 30 ล้านบาทรวมเงินฝาก)
3. รายได้ต่อปี >= 3 ล้านบาท >= 6 ล้านบาท(รวมคู่สมรส)

การลงทุนในหุ้นกู้ไม่ใช่การฝากเงิน ผู้ลงทุนอาจต้องพร้อมถือหุ้นกู้จนครบกำหนด เนื่องจากการขายก่อนครบกำหนด อาจขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของหุ้นกู้แต่ละตัว ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจในลักษณะของตราสารก่อนการตัดสินใจลงทุน ผู้ลงทุนควรพิจารณาผลประกอบการ ความสามารถในการชำระหนี้ สภาพคล่อง และฐานะการเงินประกอบการตัดสินใจ อ่านรายละเอียดและข้อมูลจากหนังสือชี้ชวน ทำความเข้าใจลักษณะและความเสี่ยงของตราสารได้จากข้อมูลสรุป หรือ Fact Sheet ก่อนการตัดสินใจลงทุน เปรียบเทียบความเสี่ยงที่นักลงทุนสามารถยอมรับได้ กับความเสี่ยงของตราสาร


วิธีส่งคำสั่ง ซื้อขาย

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
มีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ตราสารหนี้
กรุณาติดต่อ Bond Desk โทร. 02 209 8748

 

ตราสารหนี้

ตราสารหนี้เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ให้รายได้สม่ำเสมอแก่ผู้ให้กู้ โดยผู้ออกตราสารหนี้ถือเป็นผู้กู้หรือลูกหนี้ และนักลงทุนหรือผู้ถือตราสารหนี้เป็นผู้ให้กู้หรือเจ้าหนี้โดยทั้งสองฝ่ายมีข้อผูกพันทางกฎหมาย หรือสามารถกล่าวได้ว่าการออกตราสารหนี้เป็นการระดมเงินของผู้ออกตราสารผ่านการกู้ยืมระหว่างผู้กู้กับผู้ให้กู้หรือนักลงทุน ตราสารหนี้โดยปกติจะออกโดยรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย และบริษัทเอกชนในการแสวงหาเงินทุนในการทำโครงการหรือเพื่อการดำเนินงาน ผู้ออกตราสารหนี้มีพันธะในการจ่ายดอกเบี้ยคงที่หรือดอกเบี้ยลอยตัว และตกลงที่จะจ่ายเงินต้นเมื่อครบกำหนดอายุตราสาร ตราสารหนี้ในประเทศไทยส่วนใหญ่มักจะขายให้นักลงทุนรายใหญ่หรือนักลงทุนรายใหญ่พิเศษ ซึ่งนักลงทุนรายย่อยมักจะลงทุนตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวมแทน โดยปกติตราสารหนี้มองว่าเป็นกลุ่มตราสารที่มีความเสี่ยงที่ต่ำกว่าตราสารทุนซึ่งสามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดสรรเงินลงทุนเพื่อลดความผันผวนของพอร์ตลงทุนได้


เหตุผลดีๆ ที่เราควรใช้บริการที่ CGSI

1. ตราสารหนี้หลากหลายให้เลือกสรร

ตราสารหนี้เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์สำหรับการลงทุนของบริษัท ท่ามกลางผลิตภัณฑ์เพื่อการลงทุนอื่นที่หลากหลาย อาทิเช่น หุ้นในประเทศ และหุ้นต่างประเทศ ตราสารอนุพันธ์ หน่วยลงทุน เป็นต้น ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ในส่วนของตราสารหนี้ลูกค้าสามารถเลือกลงทุนในตราสารหนี้ที่เหมาะสมซึ่งได้รับการคัดสรรจากหลากหลายผู้จัดจำหน่ายในที่เดียว

2. ผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำแนะนำ

บริษัทฯมีผู้เชี่ยวชาญและมากประสบการณ์ที่สามารถให้คำแนะนำด้านการลงทุนกับลูกค้าได้เป็นอย่างดี


วิธีส่งคำสั่ง ซื้อขาย

ปัจจุบันนี้ ตราสารหนี้ซื้อขายกันโดยตรงระหว่างลูกค้าและบริษัทฯ โดยไม่ได้ผ่านตลาดหลักทรัพย์กลาง ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะตกลงกันทั้งในราคาและปริมาณ ทางบริษัทฯมีแผนงานการสร้างระบบในการซื้อขายตราสารหนี้ผ่านเว็ปไซด์ในอนาคตอันใกล้นี้


FAQs

1. ผลตอบแทนจากการลงทุนตราสารหนี้มาจากไหน?

1. ดอกเบี้ยที่ได้ตามอัตราดอกเบี้ยที่ระบุบนตราสารหนี้

2. กำไรขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงของราคาตราสารหนี้ ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างเช่น อัตราดอกเบี้ยของตลาด อัตราเงินเฟ้อ ปริมาณตราสารหนี้ในตลาดเป็นต้น


2. ตราสารหนี้มีการซื้อขายกันอย่างไร?

ตราสารหนี้มีการซื้อขายผ่านตลาด OTC ซึ่งลูกค้าและคู่สัญญาตกลงที่จะซื้อขายในราคาที่ตกลงกัน โดยบริษัทในฐานะผู้ค้าตราสารหนี้ จะทำหน้าที่ในการนำเสนอตราสารหนี้ให้แก่ลูกค้าผ่านผู้แนะนำการลงทุน

ลูกค้าที่มีความประสงค์จะซื้อหรือขายตราสารหนี้จะแจ้งรายการผ่านผู้แนะนำการลงทุนโดยมีผู้ค้าตราสารหนี้ทำหน้าที่ซื้อหรือขายตราสารหนี้ให้แก่ลูกค้า


3. คุณสมบัตินักลงทุนรายใหญ่และนักลงทุนรายใหญ่พิเศษเป็นอย่างไร?

นิติบุคคล
นักลงทุนรายใหญ่ (HNW) นักลงทุนรายใหญ่พิเศษ (UHNW)
1. ส่วนของผู้ถือหุ้น >= 75 ล้านบาท >= 150 ล้านบาท
2. เงินลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์ >= 15 ล้านบาท >= 30 ล้านบาท
(>= 30 ล้านบาทรวมเงินฝาก) (>= 60 ล้านบาทรวมเงินฝาก)
บุคคลธรรมดา
นักลงทุนรายใหญ่ (HNW) นักลงทุนรายใหญ่พิเศษ (UHNW)
1. ทรัพย์สินสุทธิไม่รวมอสังหาริมทรัพย์ >= 30 ล้านบาท >= 60 ล้านบาท
2. เงินลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์ >= 8 ล้านบาท >= 15 ล้านบาท
(>= 15 ล้านบาทรวมเงินฝาก) (>= 30 ล้านบาทรวมเงินฝาก)
3. รายได้ต่อปี >= 3 ล้านบาท >= 6 ล้านบาท(รวมคู่สมรส)

การลงทุนในหุ้นกู้ไม่ใช่การฝากเงิน ผู้ลงทุนอาจต้องพร้อมถือหุ้นกู้จนครบกำหนด เนื่องจากการขายก่อนครบกำหนด อาจขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของหุ้นกู้แต่ละตัว ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจในลักษณะของตราสารก่อนการตัดสินใจลงทุน ผู้ลงทุนควรพิจารณาผลประกอบการ ความสามารถในการชำระหนี้ สภาพคล่อง และฐานะการเงินประกอบการตัดสินใจ อ่านรายละเอียดและข้อมูลจากหนังสือชี้ชวน ทำความเข้าใจลักษณะและความเสี่ยงของตราสารได้จากข้อมูลสรุป หรือ Fact Sheet ก่อนการตัดสินใจลงทุน เปรียบเทียบความเสี่ยงที่นักลงทุนสามารถยอมรับได้ กับความเสี่ยงของตราสาร


วิธีส่งคำสั่ง ซื้อขาย

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
มีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ตราสารหนี้
กรุณาติดต่อ Bond Desk โทร. 02 209 8748