KIKO Basket ELN คืออะไร?

คือ หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงระยะสั้น 6 เดือน ให้ผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยเป็นรายเดือนที่สูงกว่าการลงทุนทั่วๆไป โดยผลตอบแทนจะขึ้นอยู่กับราคาหลักทรัพย์อ้างอิง ระดับราคาใช้สิทธิ ราคา Knock-in (KI) และราคา Knock-out (KO) ตามที่นักลงทุนเลือก

KIKO Basket ELN รวมจุดเด่นของ KIKO ELN และ SMILE ELN โดยสามารถเลือกหุ้นอ้างอิงที่ชอบได้สูงสุดถึง 3 ตัวใน SET50 โดยมีระดับราคา Knock-in (KI) และ Knock-out (KO) เช่นเดียวกับ KIKO ELN แต่เงื่อนไขการเกิด KI Event จะดูเป็นรายวัน (Daily KI) ตั้งแต่วันทำการวันแรกจากวันที่ตกลงซื้อขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (Trade Date + 1) ในขณะที่ KO Event จะดูเป็นรายเดือน (Monthly KO)

ทำไมต้องลงทุนใน KIKO Basket ELN?

  • ขยายผลตอบแทนให้มากกว่าตราสารหนี้ทั่วไปหรือเงินฝากระยะสั้นด้วยระดับความเสี่ยงที่สามารถเลือกได้
  • เพิ่มโอกาสการลงทุนระยะสั้นเหมาะกับสภาวะที่ตลาดหุ้นเคลื่อนไหวในกรอบแคบ (Sideways)
  • ระดับ KI ค่อนข้างต่ำ ทำให้มี Buffer กว้างขึ้นในสถานการณ์ที่ราคาหลักทรัพย์มีการปรับตัวลง

ใครเหมาะจะลงทุนใน KIKO Basket ELN?

  • นักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนรายเดือนที่สูงและสามารถรับความเสี่ยงได้
  • นักลงทุนที่ต้องการจัดพอร์ตการลงทุนเพื่อทยอยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนที่ชอบ

กำไรขาดทุนสูงสุดของ KIKO Basket ELN

  • กำไรสูงสุดเทียบเท่ากับ อัตราผลตอบแทนซึ่งขึ้นอยู่กับหุ้นอ้างอิง อายุของหุ้นกู้อนุพันธ์ และระดับความเสี่ยงที่นักลงทุนออกแบบ
  • ขาดทุนสูงสุดเทียบเท่ากับ การลงทุนในหุ้นตามปกติโดยนักลงทุนได้รับหุ้นที่ราคาใช้สิทธิ

ตัวอย่างการคำนวณ

หลังจากที่นักลงทุนได้เปิดบัญชีหุ้นกู้อนุพันธ์แล้ว ก่อนเริ่มตัดสินใจลงทุน สิ่งแรกที่นักลงทุนย่อมอยากรู้ คือ ราคาและผลตอบแทนของสินค้า โดยนักลงทุนสามารถติดตามราคาและผลตอบแทนของหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงได้จากใบเสนอราคา (Pricing Sheet) ของ KIKO Basket ELN โดยสามารถสอบถามรายละเอียดจากผู้แนะนำการลงทุนของท่าน

ใบเสนอราคา หรือ Pricing Sheet

Pricing Sheet: KIKO Basket ELN

Trade Date

21 กุมภาพันธ์ 2565

Strike Level (%)

100%

Issue Date

23 กุมภาพันธ์ 2565

Notional Amount

10,000,000 บาท

Valuation Date

19 สิงหาคม 2565

Settlement Method

Physical / Cash Delivery

Maturity Date

23 สิงหาคม 2565

No. of holding days

181 วัน

Observe Date 21 มีนาคม 2565 Yield Payment Date 23 มีนาคม 2565
21 เมษายน 2565 25 เมษายน 2565
19 พฤษภาคม 2565 23 พฤษภาคม 2565
21 มิถุนายน 2565 23 มิถุนายน 2565
21 กรกฎาคม 2565 25 กรกฎาคม 2565
19 สิงหาคม 2565 23 สิงหาคม 2565
Underlying Spot Price (THB) Knock-in Price (THB) Knock-out Price (THB) Strike Level (%) Strike Price (THB) Annualized Yield (Before Tax) Number of shares for delivery
AAA 40 26 40 100% 40 14% 250,000
BBB 20 13 20 20 500,000
CCC 60.50 39.32 60.50 60.50 165,289.256198

หมายเหตุ
ข้อมูลในช่อง Spot Price คือราคาปิดหุ้น AAA,BBB,CCC ของวันทำการก่อนหน้า ซึ่งจะใช้ราคาปิดของวันก่อนเพื่อเป็นตัวอย่างการคำนวณให้นักลงทุนเท่านั้น ไม่ใช่ราคาที่ตกลงทำการซื้อขายจริงๆ ซึ่งข้อมูลในใบเสนอราคาที่นักลงทุนจะได้รับในการซื้อขายจริง คือ Knock-in level, Knock-out level, Strike level, Annualized Yield และ Issue Price (กล่าวคือปัจจัยเหล่านี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคาหลักทรัพย์อ้างอิง)

เมื่อนักลงทุนเริ่มต้นลงทุนในหุ้นกู้อนุพันธ์วันนี้ เราจะเรียกวันนี้ว่า "Trade Date"

1. Trade Date (21 กุมภาพันธ์ 2565)
ราคาใช้สิทธิ (100% of Spot Price) 40 บาท
20 บาท
60.50 บาท
มูลค่าที่ตราไว้ (Notional Amount) 10,000,000 บาท
Knock-out Price (100% of Spot Price) 40 บาท
20 บาท
60.50 บาท
Knock-in Price (65% of Spot Price) 26 บาท
13 บาท
39.32 บาท
จำนวนหลักทรัพย์ที่จะส่งมอบ AAA 250,000 หุ้น (10,000,000/40)
BBB 500,000 หุ้น (10,000,000/20)
CCC 165,289.256198 หุ้น (10,000,000/60.50)
อัตราดอกเบี้ยต่อปี (ก่อนภาษี) 14%
ผลตอบแทน (ก่อนภาษี) 116,660 บาท [10,000,000 × (14%/12)]
อายุหุ้นกู้อนุพันธ์ (No. of holding days) 181 วัน
**เริ่มดูวัน Knock-in (KI) ตั้งแต่วันทำการแรกถัดจากวันที่ตกลงซื้อขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (Trade Date + 1) **
2. Issue Date (23 กุมภาพันธ์ 2565) คือ Trade Date 2 วันทำการ
นักลงทุนชำระเงินค่าซื้อ KIKO Basket ELN
มูลค่าที่ตราไว้ (Notional Amount) 10,000,000 บาท
3. Observe Date หรือ วันดูราคา คือ วันจ่ายดอกเบี้ย 2 วันทำการ

วัน Observe Date เป็นวันดูราคาเพื่อกำหนดผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับในทุกๆ 1 เดือน จนถึงวัน Valuation Date ซึ่งในแต่ละกรณีนักลงทุนอาจได้รับผลตอบแทนแตกต่างกันออกไป สามารถเกิดขึ้นได้ 4 กรณี ดังต่อไปนี้

กรณีที่ 1

(26 > AAA < 40) (13 > BBB <20) (39.32 > CCC < 60.50)

Knock-out > ราคาหุ้น < Knock-in

ราคาหุ้นอ้างอิงทุกตัว ไม่เกิด KO และ KI Event จนวัน Observe งวดสุดท้าย (Valuation Date)

ผู้ลงทุนจะได้รับชำระเงินต้น 10,000,000 บาท

และดอกเบี้ย 6 งวด 699,960 บาท (116,660 × 6)

กรณีที่ 2

(AAA ≥ 40) (BBB ≥ 20) (CCC ≥ 60.50)

ราคาหุ้น ≥ Knock-out

ราคาหุ้นอ้างอิงทุกตัวปรับตัว ≥ KO Price ในงวดที่ 3 (เกิดการไถ่ถอนก่อนกำหนด)

ผู้ลงทุนจะได้รับชำระเงินต้น 10,000,000 บาท

และดอกเบี้ย 3 งวด 349,980 บาท (116,660 × 3)

กรณีที่ 3

(AAA < 40) แต่ (AAA ≥ 40) (BBB ≥ 20) (CCC ≥ 60.50)

KI Event แต่ ราคาหุ้นทุกตัวในตะกร้า ≥ Strike Price

เหตุการณ์ KI Event แต่ ราคาหุ้นทุกตัวในตะกร้า ณ วัน Observe งวดสุดท้าย (Valuation Date) มากกว่าหรือเท่ากับ Strike Price

ผู้ลงทุนจะได้รับชำระเงินต้น 10,000,000 บาท

และดอกเบี้ย 6 งวด 699,960 บาท (116,660 × 6)

กรณีที่ 4

(AAA ≥ 40) (-10% BBB< 20) (-50% CCC< 60.50)

KI Event และ ราคาหุ้น < Strike Price

เหตุการณ์ KI Event และ ราคาหุ้นอ้างอิงตัวใดตัวหนึ่งในตะกร้า ณ วัน Observe งวดสุดท้าย (Valuation Date) น้อยกว่า Strike Price โดยหุ้นที่นักลงทุนจะได้รับเป็นหุ้นที่ปรับตัวลงไปมากที่สุด ในกรณีนี้คือ หุ้น CCC

ลงทุนจะได้รับชำระคืนเป็นหุ้น CCC เป็น 165,200 หุ้น

และเงินสดแทนเศษหุ้น 5,399.9941 บาท
(Odd lot 89.2561 x 60.50)

และดอกเบี้ย 6 งวด 699,960 บาท (116,660 × 6)

4.Valuation Date (19 สิงหาคม 2022)
วัน Valuation date เป็นวันสรุปผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับ แต่หากเกิดเหตุการณ์ KO Event ตามกรณีที่ 2 นักลงทุนได้รับชำระเงินคืนตามผลตอบแทนที่เกิดขึ้น ณ วันไถ่ถอนก่อนกำหนด
5. Maturity Date (23 สิงหาคม 2565)
นักลงทุนได้รับชำระเงินคืนตามผลตอบแทนที่เกิดขึ้น ณ วัน Observe งวดสุดท้าย (Valuation Date)

สรุปตัวอย่างการคำนวณผลตอบแทน

Disclaimer

หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงเป็นตราสารที่มีความซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูง ผู้ลงทุนควรพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับผู้ออกหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสอบถามและขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้แนะนำการลงทุนจนมีความเข้าใจเป็นอย่างดีและยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ ผู้ลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth) หรือผู้ลงทุนสถาบัน